สรุปชัด รัฐ ออก 9 มาตรการแก้ปัญหาหมูแพง!

หมูแพง

    ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจเผยว่า สืบเนื่องจากปริมาณการเลี้ยงหมูที่ลดลง ต้นทุนการเลี้ยงหมูแบบปศุวัตว์ปรับสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้สถานการณ์เนื้อหมูแดงจากตลาดส่งราคาพุ่งไปสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ทำให้ราคาเนื้อหมูตามร้านค้าปลีกทะยานขึ้นไปอีก โดยราคาสันในแต่งตกประมาณกิโลกรัมละ 219 บาท สามชั้นตัดเส้นกิโลกรัมละละ 244 บาท ส่วนราคาหมูบดอยู่ที่กิโลกรัมละ 195 บาท ซึ่งพ่อค้าวงการปศุกสัตว์คาดการณ์ว่าราคาอาจทะยานขึ้นอีกหากยังไม่มีมาตรการออกมาแก้ไขปัญหานี้

     พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ราคาเนื้อหมูภายในประเทศที่สูงขึ้น และได้ติดตามการอย่างต่อเนื่อง พร้อมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต้องทำให้ครบวงจร และมีความเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะร่วมมือกันทำให้ราคาเนื้อหมูกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังมองไปถึงการลดภาระค่าครองชีพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทุกรายไม่ว่าจะรายใหญ่หรือรายย่อย
ให้กลับมาประกอบอาชีพ สร้างรายได้ในครัวเรือน และสร้างความมั่นคงในอาชีพได้

ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐทั้งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งหารือร่วมกันแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปและนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงแนวการการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสรุปได้เป็น  3 มาตรการใหญ่เพื่แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีรวมทั้งแก้ไขปัญหาในระยะยาวด้วย โดยมาตรการการแก้ไขปัญหาราคาเนื้อหมูพุ่งทะยานนั้น ประกอบไปด้วย 3 ระยะ ได้แก่  มาตรการเร่งด่วน มาตรการระยะสั้นและมาตรการระยะยาว

มาตรการเร่งด่วน  3 ประการ ได้แก่
1. การห้ามส่งออกหมูที่มีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.65 ไปจนถึง วันที่ 5 เม.ย. 65 เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อหมูภายในประเทศ  โดยกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการพิจารณาตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าจะใช้นโยบายดังกล่าวนี้ต่อไปอีกหรือไม่ โดยสถิติการเลี้ยงหมูในตลาดปศุสัตว์เพื่อการบริโภคนั้น ช่วงต้นปี 2564 มีการเลี้ยงหมูในตลาดประมาณ 19 ล้านตัว คนไทยบริโภคประมาณ  18 ล้านตัว ส่วนที่เหลือส่งออกไปต่างประเทศอีกประมาณ 1 ล้านตัว จึงระงับการส่งออกหมูที่มีชีวิตชั่วคราวตามระยะเวลาที่ประกาศไปข้างต้น เพื่อเพิ่มปริมาณหมูในตลาดให้เพียงพอ ทำให้ราคาหมูปรับตัวลงได้
2. งดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี สำหรับอาหารสัตว์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และยังมีการจัดสินเชื่อพิเศษของ ธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูสามารถกลับมาเลี้ยงหมูได้ด้วยต้นทุนค่าอาหารที่ลดลง และมีเงินมาหมุนเวียนใหม่
3. เร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การเลี้ยงหมู เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและมาตรการที่เหมาะสม พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตแม่หมูทดแทน โดยให้เกษตรกรใช้หมูขุนตัวเมียมาใช้ทำพันธุ์เป็นการชั่วคราวยอกจากนี้ยังเร่งรัดการเจรจากับผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มเลี้ยงหมูรายใหญ่ให้การกระจายพันธุ์และลูกหมูขุนให้กับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยที่ต้องการ ส่วนมาตรการด้านสาธารณสุขนั้น มีการกำหนดโซนเลี้ยงและออกมาตรการบังคับใช้อย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมโรค และเร่
การวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคที่เกิดกับหมู

มาตรการระยะสั้น 3 ประการ ได้แก่
1. ส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าอาหารสัตว์จากต่างประเทศ
2. การขยายกำลังผลิตแม่หมู สนับสนุนศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ ในสังกัดกรมปศุสัตว์และภาคเอกชน
3. เร่งเดินหน้าการศึกษาวิจัยยารักษาและสารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาด

มาตรการระยะยาว 3 ประการ ได้แก่
1.ธ.ก.ส. ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้เลี้ยงหมูได้กู้ยืม เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงหมู ผ่านโครงการสานฝันสร้าง
2. ส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม  มีค่าใช้จ่ายต่ำ ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาเลี้ยงหมูใหม่และเพิ่มปริมาณการผลิตหมูให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะมีการผลักดันการยกระดับมาตรฐานฟาร์มของเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคระบาด

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเพื่อช่วยเหลือให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่ม ของผู้เลี้ยงหมู และเร่งหาตลาดในราคาที่เกษตรกรอยู่ได้อย่างยั่งยืน